ความเชื่อระหว่างตั้งครรภ์ ใช่หรือมั่ว ! ! !

  • 4 August 2021
ความเชื่อระหว่างตั้งครรภ์ ใช่หรือมั่ว ! ! !

 

จริงหรือไม่ ใช่หรือมั่ว ชำแหละ 7 ความเชื่อขณะตั้งครรภ์

ปัจจุบันถึงแม้วิทยาศาสตร์จะพัฒนาไปไกลมากมายแค่ไหน แต่ก็ยังมีความเชื่อต่าง ๆ

มากมายเกี่ยวกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ว่าควรหรือไม่ทำอะไรที่ยังมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน

จนอาจทำให้คุณแม่หลาย ๆ คนเกิดความสงสัยว่าตกลงแล้วความเชื่อเหล่านั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่

และถ้าเกิดทำตามความเชื่อนั้นไปแล้วจะเกิดผลเสียอะไรกับลูกในครรภ์

 

จริงหรือมั่ว ความเชื่อระหว่างตั้งครรภ์

ในประเทศไทยก็มีความเชื่อทั้งทางด้านอาหาร และการใช้ชีวิตต่าง ๆ มากมาย

แต่วันนี้เราจะมาดูกันว่าความเชื่อทางด้านอาหารนั้นถูกหรือผิด และควรทำตามหรือไม่

 

1. ต้องกินเพิ่มเป็นสองเท่าเมื่อตั้งครรภ์

ไม่จริง เนื่องจากความจริงแล้วเมื่อตั้งครรภ์คุณแม่ไม่ได้จำเป็นจะต้องกินอาหารมากถึง 2 เท่าจากปกติ

แต่กินเพิ่มขึ้นเพียงวันละ 300 – 500 กิโลแคลอรีก็เพียงพอแล้ว และยังมีความต้องการสารอาหารอื่น ๆ เพิ่มขึ้น

เช่น ธาตุเหล็ก โฟแลท และแคลเซียม เป็นต้น ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

อีกทั้งการกินอาหารในปริมาณ 2 เท่านั้นจะทำให้คุณแม่มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมากอย่างไม่จำเป็น

และอาจเป็นอันตรายต่อตัวคุณแม่และลูกในท้องได้ในอนาคต

 

2. คุณแม่ห้ามดื่มนมวัว เพราะลูกจะแพ้นมวัวหลังคลอด

ไม่จริง เพราะจากการศึกษาในปี 2016 ในคุณแม่ที่ดื่มนมในปริมาณ 800 มิลลิลิตร หรือ 4 แก้วต่อวัน

ช่วยลดความเสี่ยงที่ลูกหลังคลอดจะมีอาการแพ้นมวัวมากกว่าคุณแม่ที่ดื่มที่ไม่ดื่มนมในขณะตั้งครรภ์

แต่การให้ทารกก่อนขวบปีแรกดื่มนมวัวแทนการดื่มนมจากคุณแม่ จะเพิ่มความเสี่ยงการแพ้นมวัวได้

 

3. คนท้องห้ามกินอาหารหมักดองเพราะไม่สะอาดและสารเคมีมากมาย

จริง เพราะว่าในของหมักดองที่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด อาจจะมีการเตรียมที่ไม่สะอาด

ทำให้อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค คือ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens)

ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ รวมไปถึงมีการเติมสารต่าง ๆ เช่น บอแร็กซ์ สารกันบูด เป็นต้น

อีกทั้งยังมีรสชาติเค็มที่เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือดในคุณแม่

รวมไปถึงอาจส่งผลกระทบต่อลูกได้ในระยะยาวได้ อีกทั้ง

 

4. กรดโฟลิกควรเสริมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

จริง เพราะว่ากรดโฟลิกนั้นเป็นสารสำคัญที่ใช้ในการสร้างหลอดประสาทของทารก ในช่วง 1 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

คุณแม่ก่อนตั้งครรภ์จึงจำเป็นต้องได้รับการเสริมกรดโฟลิกก่อนที่จะตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะหลอดประสาทไม่ปิดตัว

(neural tube defect) ดังนั้นก่อนการตั้งครรภ์ควรเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและทำการวางแผนการตั้งครรภ์

 

5. ห้ามกินกาแฟเพราะอันตรายต่อลูกในท้อง

จริง เพราะว่าหากคุณแม่ตั้งครรภ์ทำการดื่มกาแฟ สารในกาแฟที่มีชื่อว่า คาแฟอีน จะส่งผ่านรกจากคุณแม่ไปสู่ลูก

และอาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด ลูกมีน้ำหนักแรกเกิดที่น้อยกว่าเกณฑ์ รวมไปถึงความเสี่ยงที่จะแท้งลูกได้เลย

 

6. ไม่อยากให้ลูกผิวดำ ตอนท้องต้องห้ามกินของดำ

ไม่จริง เพราะว่าสีผิวเกิดขึ้นจากทางพันธุกรรม โดยที่สีผิวจะเข้มหรืออ่อนนั้นเกิดจาก

การทำงานของเซลล์เม็ดสี (Melanin) ไม่ใช่เกิดการกินอาหารที่มีสีเข้มขณะตั้งครรภ์

 

7. ดื่มน้ำมะพร้าวขณะท้อง ระวังจะแท้งลูก

ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด ว่าการดื่มน้ำมะพร้าวขณะท้องจะทำให้แท้งบุตร ดังนั้นหากคุณแม่อยากจะดื่มน้ำมะพร้าว

ก็ไม่ควรดื่มในปริมาณที่มากจนเกินไปเพราะในน้ำมะพร้าวก็ยังมีน้ำตาลอยู่ที่อาจเป็นผลก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ แทน

จะเห็นได้ว่าความจริงแล้วบางความเชื่อบางอย่างก็ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์และสามารถนำมาใช้ได้จริง

เช่น ห้ามกินของดอง ห้ามกินกาแฟ หรือการเสริมกรดโฟลิกตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เป็นต้น

แต่ทางที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพคือการที่คุณแม่ปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์ หมั่นดูแลสุขภาพ กินอาหารที่มีประโยชน์

และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และคอยหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา การสูบบุหรี่ เพียงเท่านี้ลูกน้อยในท้องก็จะเติบโตอย่างแข็งแรง

 

ติดต่อ : 083 436 5947

Tags :