กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์จำนวนมาก
หลังจากเพจผู้ใช้เฟซบุ๊ก Jiratchaya Rangsaritwirachot ได้ออกมาเผยแพร่ราวสุดเศร้า
กับการจากไปของคุณพ่อสุดที่รัก ขณะรอคิวตรวจที่โรงพยาบาล
อีกประสบการณ์ในสังคมไทยที่เราพบเจอบ่อยๆ
และยังไม่ได้รับการแก้ไขสักที
น่าเห็นใจทั้งคนไข้และคุณหมอที่พบประสบการณ์ไม่ดี
การรอการแก้ไขจากภาครัฐเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ใช่วิธีรวดเร็ว และรู้สึกสบายใจในงานบริการ
การช่วยเหลือตัวเองน่าจะเป็นวิธีที่รวดเร็ว และเกิดความมั่นใจในการใช้ชีวิตมากที่สุด
คือ การพาตัวเองและคนที่เรารักไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเอกชน
และเตรียมค่าใช้จ่ายให้เพียงพอด้วยการเก็บออมเงินฉุกเฉินเพื่อค่ารักษาพยาบาล
หรืออีกตัวเลือกสำคัญในการช่วยบรรเทาค่ารักษาพยาบาลคือ ประกันสุขภาพ
ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยังผู้โพสต์ ทราบชื่อ น.ส.จิรัชญา รังสฤษฏิ์วีระโชติ อายุ 41 ปี
ลูกสาวของ นายกมลชัย รังสฤษฏิ์วีระโชติ อายุ 72 ปี ผู้เสียชีวิต
เล่าว่า วันเกิดเหตุคือ วันอาทิตย์ ที่ 7 ก.ค. ช่วงบ่าย ตนได้พาพ่อไปเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเบตง
เนื่องจากพ่อเป็นโรคชิคุนกุนยา เจ็บข้อเดินไม่ได้ แต่พอวันที่ 2 ก็สามารถลุกขึ้นได้ เพราะได้ต้มยาหม้อให้ทาน
แต่พอวันที่ 3 ก็เกิดอาการเพลีย ตนจึงพาไปโรงพยาบาล
พอถึงจุดคัดกรองก็รอคิว หลังจากวัดความดันเรียบร้อยแล้ว ก็นั่งคอย จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็ตรวจคนที่มารอคิวต่อไป
และนำเข้าไปในห้องฉุกเฉิน ก็เลยถามเจ้าหน้าที่ว่า ทำไมพ่อถึงไม่ได้เข้า จะได้เข้าเมื่อไหร่
ตอนถามเจ้าหน้าที่ ก็จับหน้าพ่อรู้สึกว่า พ่อตัวเย็น เสื้อเปียก แต่พ่อไม่พูดอะไร นั่งหลับ
ตนจึงเข็นพ่อไปที่เจ้าหน้าที่ จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็วัดความดันอีกครั้ง ก็พบว่าความดันต่ำ
จึงได้นำเข้าห้องฉุกเฉินไป และได้เสียชีวิต ช่วงเวลา 17.00 น.
ทำให้ตนมีความรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่บริการล่าช้า จึงทำให้พ่อเสียชีวิต
จึงได้นำรูปพร้อมเขียนข้อความลงเฟซบุ๊ก เพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขบริการ
ระบุข้อความไว้ว่า
“พ่อจากไป เพราะนั่งคอยตรวจนาน ตรวจแล้วไม่ให้เข้าอีก อุตส่าห์ให้แม่วิ่งไปยื่นบัตร
จะได้ตรวจไวขึ้น แต่ที่ไหนได้ เจ้าหน้าที่จุดคัดกรอง บอกว่า พ่อไม่หนัก ความดันปกติ
แต่คุณไม่ได้จับชีพจร คุณไม่ใช่พยาบาล คุณไม่ใช่หมอ คุณมีสิทธิ์บอกว่า พ่อเข้าไม่ได้ได้ไง ให้คนอื่นเข้าก่อนได้ไง
ลูกขอโทษนะป๋า ที่ให้ป๋านั่งคอยนาน 2 คิว
ถูกแซงคิวไปอีกคิว ป๋าต้องนั่งคอย
ลูกไม่น่าเลย ลูกเสียใจ ป๋า ลูกพาป๋าถึงมือหมอช้าไป
เพราะจุดคัดกรอง ต้องให้ป๋านั่งรอ ลูกมาดูภาพอีกครั้ง ป๋าไม่ไหวแล้ว
ป๋าเหนื่อย ป๋านั่งรอ กว่าจะได้ตรวจ ได้เจอหมอ ..
ใครที่ไม่อยู่จุดนี้ ไม่เข้าใจหรอก
พ่อขอให้พามาโรงพยาบาล แสดงว่าพ่อไม่ไหวแล้ว อยากเจอหมอ
จะบอกให้นะ ไม่ใช่พ่อคุณคุณไม่เข้าใจหรอก
(มันช้า มันเฉื่อย จนท. ไม่ใช่หมอ รู้ได้ไง ไม่หนัก
ถ้าไม่หนัก จะมาทำไม ห้องฉุกเฉิน)
มีสิทธิ์ไรมาให้คนนั้นเข้าได้คนนี้ห้ามเข้าก่อน)
ทำไม ต้องด่า ด่าเจ้าหน้าที่หน้าห้อง
(พอเห็นตรวจคนหลังพ่อแล้วให้เข้าได้ ส่วนพ่อถูกเข็นไปจอดอีกจุด)
เห็นพ่อนั่งหลับ ก็ไปจับหน้าพ่อ ไหวไหมป๋า
พ่อตัวเย็นมาก เสื้อเปียกหมด เหงื่อแตก
รีบถามเจ้าหน้าที่ว่า เมื่อไหร่พ่อจะได้เข้าตรวจ
เขาตอบมาว่า ให้คนที่แซงเข้าก่อน
เพราะความดันต่ำกว่า แล้ววัดพ่ออีกครั้ง พ่อต่ำ 38
ถึงรีบเข็นพ่อเข้าไป
พอได้เข็นพ่อเข้าไป ก็ตามเข้าไปด้วย นางก็ไล่ออกไปนะ
แต่ไม่ออกค่ะ ตามเข้าไป แล้วมันเข็นพ่อวางไว้ เตียงสุดท้าย ไกลสุด
ไม่มีเครื่องไรตรงนั้น ก็ถามต่อ พ่อตัวเย็นหมดแล้ว
จะเป็นลมแล้ว ไม่ไหวแล้ว จะทำไรก็รีบทำ ไม่ใช่ให้พ่อนั่งคอยแบบนี้อีก
เอาพ่อนอนก็ได้ แล้วพยาบาลอีกคนก็รีบเข็นพ่อไปนอน เตียงหน้าที่มีเครื่องมือเยอะๆ แล้วเอาไรมาแปะๆเต็มหน้าอกพ่อ เจาะเลือดพ่อ
พ่อน่าสงสารมาก เครื่องอะไรเยอะแยะมาติดหน้าอกพ่อ
(ชีวิตคน แค่เสี้ยววินาที ที่ถึงมือหมอช้าไป ก็เสียชีวิตได้ )
อยู่ในห้องฉุกเฉินนานพอสมควร คนไข้เยอะ คนที่เข้ามาแซงพ่อก็นอนนะ นอนสบาย หมอตรวจพ่อแล้ว สบายใจ ยืนมองพ่อ ให้กำลังใจ เป็นห่วง
แล้วพยาบาลก็เรียกหมอ มาอีกเตียง ไปตรวจอีกคนที่พึ่งได้เข้าหลังพ่อ
เราก็ยืนมอง เค้าหนักกว่าหายใจไม่ออก
แล้วเราก็ถูกไล่ให้ออกจากห้องฉุกเฉิน ..
ก็ออกไปนั่งคอย จนหมอเรียก ว่า พ่อต้องเข้า พัก ห้อง ไอซียูนะ
เข้าห้องไอซียู ความดันต่ำลงๆเรื่อยๆ พ่อเริ่มเหนื่อย จนหัวใจเต้นผิดปกติ และหยุดเต้นไป หมอพยายามช่วยปั้ม 40 กว่านาที
ก็ไม่หายใจกลับมา พ่อเสียชีวิตแล้ว
ป๋าหลับให้สบายนะ ลูกรักป๋านะ
ด้าน นพ.ยุทธนา รุ่งธีรานนท์ นายแพทย์ชำนาญการ อายุรแพทย์โรงพยาบาลเบตง
ซึ่งเป็นแพทย์เจ้าของคนไข้ ได้ให้ข้อมูลว่า หลังจากได้รับตัวคนไข้จากห้องฉุกเฉิน มาอยู่ในห้องไอซียู
ประเมินอาการโดยรวม คนไข้อาการยังไม่คงที่
มีอาการมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นเร็ว ประมาณ 130 ครั้ง ต่อนาที
ความดันต่ำ ทางแพทย์ก็รีบช่วยดูแลรักษาอย่างเต็มที่
ส่วนสาเหตุที่คนไข้เสียชีวิต เนื่องจากมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ
ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ประกอบกับคนไข้มีความดันลดลง
ด้าน แพทย์หญิงปัทมพันธ์ อนันตาพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเบตง จ.ยะลา
ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวว่า หลังจากมีข่าว ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ
ได้มีการเรียกประชุมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในเหตุการณ์
พร้อมทั้งตรวจสอบเอกสารต่างๆ กล้องวงจรปิด เกี่ยวกับเรื่องนี้
เพื่อหาสาเหตุ แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เจ้าหน้าที่คัดกรอง ซึ่งเป็นพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน
ได้ตรวจอาการผู้ป่วยก่อนเพื่อแบ่งระดับความหนักเบาของผู้ป่วย
หากผู้ป่วยที่มีอาการหนักก็จะนำเข้าห้องฉุกเฉินเพื่อให้แพทย์ทำการรักษาอย่างเร่งด่วน
ในกรณีที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่จุดคัดกรองได้ตรวจวัดความดันของผู้ป่วยที่เสียชีวิตเรียบร้อยแล้ว
ซึ่งความดันขณะนั้นอยู่ที่ 144/ 80 ซึ่งถือว่าปกติ จึงจัดเป็นผู้ป่วยในโซนสีเขียว
คือ เจ็บป่วยเล็กน้อย จึงได้ให้นั่งคอยตามคิว ส่วนที่ว่ามีการแซงคิว
เนื่องจากมีผู้ป่วยอีกคนที่มาทีหลัง แต่ตรวจวัดความดันพบว่าความดันต่ำ อยู่ที่ 75/38
ซึ่งถือว่ามีอาการหนักกว่า เป็นผู้ป่วยในโซนสีชมพู คือ เจ็บป่วยรุนแรง เจ้าหน้าที่จึงได้นำตัวเข้าห้องฉุกเฉินก่อน
ส่วนที่มีภาพถ่ายว่า ผู้ป่วยที่เสียชีวิต มีความดันระดับต่ำ อยู่ที่ 75/38 ก็ได้ตรวจสอบแล้ว
พบว่าเป็น ค่าการวัดความดันของผู้ป่วยที่เจ้าหน้าที่ได้นำเข้าห้องฉุกเฉินไปก่อนหน้านั้น
ซึ่งเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้กดรีเซตเครื่อง ส่วนที่ว่าบริเวณจุดคัดกรอง ไม่ใช่พยาบาลนั้น
สำหรับเหตุการณ์นี้ เนื่องจากภายในห้องฉุกเฉินก็มีผู้ป่วยอาการหนักอยู่ วันเกิดเหตุ
พนักงานเวชกิจฉุกเฉินโรงพยาบาลเบตง ซึ่งมีหน้าที่ให้การช่วยเหลือคนไข้หรือผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บ
เช่น การให้น้ำเกลือ การใช้ท่อช่วยหายใจ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
การดูแลคนไข้บนรถพยาบาลฉุกเฉินจนถึงโรงพยาบาล เป็นต้น
ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่เรียนจบทางด้านเวชกิจฉุกเฉิน จะประจำอยู่ที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล
และในบางครั้ง ออกมาช่วยเหลือผู้ป่วยอาการหนักหรือผู้ที่ประสบอุบัติเหตุด้วยนอกโรงพยาบาลด้วย
จึงได้มาช่วยที่บริเวณจุดคัดกรอง จึงทำให้ญาติคนไข้อาจไม่เข้าใจ ว่าไม่ใช่เจ้าหน้าที่.
ข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Jiratchaya Rangsaritwirachot