4 สิ่ง ที่คุณแม่ไม่ควรทำ ! ! !
เมื่อคุณแม่หลาย ๆ คนตั้งครรภ์
สิ่งสำคัญที่คุณแม่จะนึกถึงสิ่งแรกก็คือ "ลูกน้อย"
ทำให้ต้องคอยระมัดระวังว่าสิ่งที่เราเคยทำก่อนตั้งครรภ์
นั้นจะยังสามารถทำได้ไหม แล้วอะไรบ้างที่ห้ามทำขณะตั้งครรภ์
เพื่อที่จะให้ลูกน้อยในครรภ์สามารถเติบโตได้อย่างสมบูรณ์และแข็งแรง
อะไรไม่ควรทำขณะตั้งครรภ์
ในอาหารดิบไม่ว่าจะเป็น เนื้อดิบ ปลาดิบ หรือแม้กระทั่งผักและผลไม้สด
จะมีเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า ลิสเทอเรีย และเชื้อแบคทีเรียตัวอื่น ๆที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
เช่น อี-โคไล ซาลโมเนลลา และคลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเกนส์ เป็นต้น
ซึ่งเชื้อลิสเทอเรียเป็นเชื้อที่สามารถผ่านรกในครรภ์ได้
ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด หรือ ร้ายแรงถึงขั้นแท้งลูกได้เลย
แต่คุณแม่สามารถป้องกันเชื้อตัวนี้ได้
เพียงแค่รักษาความสะอาด กินอาหารปรุงสุกใหม่ ๆ ที่ผ่านความร้อนเกิน 75 องศาเซลเซียสขึ้นไป
และเลือกใช้การนึ่ง ย่าง ต้ม หรือ ผัดน้ำมันน้อย เพื่อให้ดีต่อสุขภาพนั่นเอง
การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์
คุณแม่จะได้สารนิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์จากบุหรี่ที่ส่งผลให้หลอดเลือดในรกหดตัว
ทำให้ปริมาณสารอาหารและออกซิเจนที่ไปสู่ทารกลดลง อีกทั้งสารนิโคตินและแอลกอฮอล์
ยังสามารถผ่านรกและส่งผลต่อสมองและการเจริญเติบโตของทารกด้วย
จึงเป็นสาเหตุทำให้ทารกคลอดออกมาผิดปกติ
เช่น หน้าตาผิดปกติ ศีรษะขนาดเล็ก เตี้ย น้ำหนักแรกเกิดน้อย
ระบบประสาทและสมองเกิดความผิดปกติ การได้ยินและการมองเห็นผิดปกติ
อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคไหลตายในทารกอีกด้วย
คาเฟอีน สามารถส่งจากคุณแม่ไปสู่ลูกได้ และจากรายงานผลการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น
คุณแม่ที่ได้รับคาเฟอีนในปริมาณมากกว่า 258 มิลลิกรัมต่อวัน
พบว่ามีโอกาสคลอดก่อนกำหนดถึง 2.34 เท่า
เมื่อเทียบกันแม่ตั้งครรภ์ที่ได้รับคาเฟอีนน้อยกว่า 175 มิลลิกรัมต่อวัน
คุณแม่ตั้งครรภ์มีความต้องการพลังงานมากกว่าคนปกติประมาณ 300 – 500 กิโลแคลอรี
จึงไม่จำเป็นที่จะต้องลดน้ำหนัก ซึ่งอาจทำให้คุณแม่และลูกในครรภ์ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
และส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้
ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์
ประมาณ 11 – 16 กิโลกรัม ในคุณแม่ที่มีค่าดัชนีมวลกายปกติ
12.5 – 18 กิโลกรัม ในคุณแม่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อย
และ 5 – 9 กิโลกรัม ในคุณแม่ที่อยู่ในเกณฑ์อ้วน
นี่ก็คือข้อ 4 ข้อที่ไม่ควรทำขณะที่ตั้งครรภ์
เพียงเท่านี้คุณแม่ก็สามารถดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม
เพื่อให้ตัวคุณแม่มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง
ไปพร้อมกันกับการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมของลูกน้อยในครรภ์
แต่ถ้าหากคุณแม่ท่านไหนมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ควรทำ
สามารถสอบถามจากนักกำหนดอาหาร แพทย์ หรือพยาบาลที่ดูแลท่านอยู่ได้เลย